สมัยสุโขทัย เป็นแบบพ่อปกครองลูก แบ่งการปกครองดังนี้
1.การปกครองราชธานี พระมหากษัตริย์ดำเนินการปกครองเอง
2.การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งหัวเมืองการปกครองออกเป็น 2 ประเภท
- หัวเมืองชั้นใน ได้แก่เมืองหน้าด่าน เมืองลูกหลวง จัดเป็นเมือฝในเขตรอบพระราชธานี 4 ด้าน คือ
เมืองศรีสัชนาลัย(สวรรคโลก) สองแคว(พิษณุโลก) สระหลวง(พิจิตร) ชากังราว(กำแพงเพชร)
- หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานครมีผู้ปกครองที่ขึ้นตรงต่อสุโขทัยแต่อยู่ไกลออกไป
เช่น เมืองแพรก(สรรคบุรี) อู่ทอง(สุพรรณบุรี) ราชบุรี ตะนาวศรี แพร่ หล่มสัก เพชรบูรณ์ ศรีเทพเมืองประเทศราชส่วนใหญ่เป็นเมืองที่ชาวต่างชาติ มีกษัตริย์ปกครองแต่ขึ้นกับสุโขทัยในฐานะประเทศราชเช่น นครศรีธรรมราช ยะโฮว์ ทวาย หงสาวดี น่าน เวียงจันทร์
- การปกครองประเทศราช ให้เจ้าเมืองเดิมปกครองกันเองแต่ต้องส่งบรรณาการ
สมัยอยุธยา ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้อิทธิพลมาจากขอม+อินเดีย เป็นแบบเทวสิทธิ์(เทวราชา/สมมติเทพ)
ถือว่ากษัตริย์เป็นเจ้าชีวิต แบ่งเป็น 3 สมัย
1.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) แบ่งการปกครองคือ
- การปกครองส่วนกลาง หรือจตุสดมภ์ตามอิทธิพลขอม คือ เวียง รักษาความสงบเรียบร้อย ปราบโจรผู้ร้าย วัง เกี่ยวกับราชสำนัก การยุติธรรม การตัดสินคดีต่างๆ คลัง งานคลังมหาสมบัติ การค้า ภาษีต่างๆนา ด้านการเกษตร
- การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งเป็น 4 ส่วนเมืองหน้าด่าน ป้องกันราชธานี 4 ทิศ คือ ลพบุรี นครนายก พระประแดง สุพรรณบุรี
หัวเมืองชั้นใน เรียงรายตามระยะทางคมนาคม สามารถติดต่อราชธานีได้ภายใน 2 วัน เช่น สิงห์บุรีชลบุรี ปราจีนบุรี ราชบุรีฯลฯ
หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่ไกลออกไปกษัตริย์จะส่งขุนนางที่วางพระทัยไปปกครองเช่น ตะนาวศรี โคราช จันทบุรี นครศรีธรรมราช หัวเมืองปท.ราช ได้แก่ มะละกา ยะโฮว์
2.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีการปรับปรุงการปกครองครั้งใหญ่ใช้มาจนสิ้นสมัยอยุธยา
- มีการแบ่งแยกการปกครองเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้า ฝ่ายทหารมีสมุหกลาโหมเป็นหัวหน้า
- ยกเลิกเมืองหน้าด่านและการส่งพระราชวงศ์ไปปกครอง โดยแต่งตั้งขุนนางไปปกครอง
- จัดลำดับหัวเมืองชั้นนอกเป็นหัวเมืองเอก โท ตรี ตามลำดับความสำคัญโดยส่งขุนนางไปปกครอง
- หัวเมืองชั้นในมีฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อราชธานี
- จัดวางระเบียบเกี่ยวกับศักดินา ตำแหน่ง ยศ และราชทินนาม สำหรับบุคคลที่จะเข้ารับราชการ
3.สมัยพระเทพราชา มีการเปลี่ยนแปลงจากสมัยพระบรมไตรฯเล็กน้อย โดยเปลี่ยนระบบควบคุมอำนาจทหารฝ่ายเดียวเป็นแบบคานอำนาจ 2 ฝ่าย สมุหนายกดูแลควบคุมหัวเมืองทางเหนือ สมุหกลาโหมดูแลหัวเมืองทางใต้
สมัยธนบุรี ยังคงตามอย่างสมัยอยุธยาเป็นหลัก
สมัยรัตนโกสินทร์ แบ่งได้ 2 สมัย
1.ตอนต้น ยึดหลักสมัยอยุธยาแต่ความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของกษัตริย์ลดลง
2.การปฏิรูปสมัยสมเด็จพระจุลฯ
สมัยประชาธิปไตย
สาเหตุการปฏิรูป
1.ป้องกันจักรวรรดินิยม
2.พัฒนาปท.ตามแบบอย่างอารยปท.
3.สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
4.รักษาเอกราชและความอยู่รอด
การปฏิรูปการปกครอง
ปรับปรุงการบริหารราชการส่วนกลาง
1.ยกเลิกสมุหนายก สมุหกลาโหม ตำแหน่งจตุสดมภ์
2.จัดตั้งกระทรวง 12 กระทรวง(พ.ศ.2435)
- มหาดไทย บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว
- กลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ หัวเมืองฝ่ายตะวันออกและเมืองมลายา
- ต่างปท.จัดการเกี่ยวกับต่างปท.
- วัง กิจการในพระราชวัง
- เมืองหรือนครบาล จัดการเกี่ยวกับเรื่องตำรวจและราชทัณฑ์
- เกษตรธิการ เกี่ยวกับการเพาะปลูก เหมืองแร่ ป่าไม้- คลัง ภาษีอากรและงบประมาณแผ่นดิน
- ยุติธรรม จัดการเรื่องชำระคดีและการศาล
- ยุทธนาธิการ จัดการเกี่ยวกับเรื่องทหาร
- ธรรมการ ว่าด้วยเรื่องการศึกษา การสาธารณสุขและการสงฆ์
- โยธาธิการ การก่อสร้าง การช่าง ไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ
- มุรธาธิการ การรักษาตรวจตราแผ่นดินและระเบียบสารบรรณ
3.ตั้งสภาที่ปรึกษาในพระองค์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐมนตรีสภา ประกอบด้วยเสนาบดี หรือผู้แทนแต่งตั้งรวมกันไม่น้อยกว่า 12 คน เพื่อเป็นที่ปรึกษาและคอยทัดทานอำนาจกษัตริย์
4.ตั้งองคมนตรีสภาสมาชิกไม่น้อยกว่า 49 คน มีทั้งสามัญชน ขุนนางระดับต่างๆ และพระราชวงศ์มีฐานะรองจากรัฐมนตรีสภา