วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

วิชาสังคม

                                    วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทย
สมัยสุโขทัย เป็นแบบพ่อปกครองลูก แบ่งการปกครองดังนี้
      1.การปกครองราชธานี พระมหากษัตริย์ดำเนินการปกครองเอง
      2.การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งหัวเมืองการปกครองออกเป็น 2 ประเภท
- หัวเมืองชั้นใน ได้แก่เมืองหน้าด่าน เมืองลูกหลวง จัดเป็นเมือฝในเขตรอบพระราชธานี 4 ด้าน คือ
    เมืองศรีสัชนาลัย(สวรรคโลก) สองแคว(พิษณุโลก) สระหลวง(พิจิตร) ชากังราว(กำแพงเพชร)
- หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานครมีผู้ปกครองที่ขึ้นตรงต่อสุโขทัยแต่อยู่ไกลออกไป
   เช่น เมืองแพรก(สรรคบุรี) อู่ทอง(สุพรรณบุรี) ราชบุรี ตะนาวศรี แพร่ หล่มสัก เพชรบูรณ์ ศรีเทพเมืองประเทศราชส่วนใหญ่เป็นเมืองที่ชาวต่างชาติ มีกษัตริย์ปกครองแต่ขึ้นกับสุโขทัยในฐานะประเทศราชเช่น นครศรีธรรมราช ยะโฮว์ ทวาย หงสาวดี น่าน เวียงจันทร์
- การปกครองประเทศราช ให้เจ้าเมืองเดิมปกครองกันเองแต่ต้องส่งบรรณาการ
        สมัยอยุธยา ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้อิทธิพลมาจากขอม+อินเดีย เป็นแบบเทวสิทธิ์(เทวราชา/สมมติเทพ)
      ถือว่ากษัตริย์เป็นเจ้าชีวิต แบ่งเป็น 3 สมัย
1.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) แบ่งการปกครองคือ
      - การปกครองส่วนกลาง หรือจตุสดมภ์ตามอิทธิพลขอม คือ เวียง รักษาความสงบเรียบร้อย ปราบโจรผู้ร้าย วัง เกี่ยวกับราชสำนัก การยุติธรรม การตัดสินคดีต่างๆ คลัง งานคลังมหาสมบัติ การค้า ภาษีต่างๆนา ด้านการเกษตร
      - การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งเป็น 4 ส่วนเมืองหน้าด่าน ป้องกันราชธานี 4 ทิศ คือ ลพบุรี นครนายก พระประแดง สุพรรณบุรี
       หัวเมืองชั้นใน เรียงรายตามระยะทางคมนาคม สามารถติดต่อราชธานีได้ภายใน 2 วัน เช่น สิงห์บุรีชลบุรี ปราจีนบุรี ราชบุรีฯลฯ
       หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่ไกลออกไปกษัตริย์จะส่งขุนนางที่วางพระทัยไปปกครองเช่น ตะนาวศรี โคราช จันทบุรี นครศรีธรรมราช หัวเมืองปท.ราช ได้แก่ มะละกา ยะโฮว์
2.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีการปรับปรุงการปกครองครั้งใหญ่ใช้มาจนสิ้นสมัยอยุธยา
        - มีการแบ่งแยกการปกครองเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้า ฝ่ายทหารมีสมุหกลาโหมเป็นหัวหน้า
        - ยกเลิกเมืองหน้าด่านและการส่งพระราชวงศ์ไปปกครอง โดยแต่งตั้งขุนนางไปปกครอง
        - จัดลำดับหัวเมืองชั้นนอกเป็นหัวเมืองเอก โท ตรี ตามลำดับความสำคัญโดยส่งขุนนางไปปกครอง
        - หัวเมืองชั้นในมีฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อราชธานี
       - จัดวางระเบียบเกี่ยวกับศักดินา ตำแหน่ง ยศ และราชทินนาม สำหรับบุคคลที่จะเข้ารับราชการ
3.สมัยพระเทพราชา มีการเปลี่ยนแปลงจากสมัยพระบรมไตรฯเล็กน้อย โดยเปลี่ยนระบบควบคุมอำนาจทหารฝ่ายเดียวเป็นแบบคานอำนาจ 2 ฝ่าย สมุหนายกดูแลควบคุมหัวเมืองทางเหนือ สมุหกลาโหมดูแลหัวเมืองทางใต้
สมัยธนบุรี ยังคงตามอย่างสมัยอยุธยาเป็นหลัก
      สมัยรัตนโกสินทร์ แบ่งได้ 2 สมัย
1.ตอนต้น ยึดหลักสมัยอยุธยาแต่ความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของกษัตริย์ลดลง
2.การปฏิรูปสมัยสมเด็จพระจุลฯ
สมัยประชาธิปไตย
      สาเหตุการปฏิรูป
1.ป้องกันจักรวรรดินิยม
2.พัฒนาปท.ตามแบบอย่างอารยปท.
3.สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
4.รักษาเอกราชและความอยู่รอด
การปฏิรูปการปกครอง
     ปรับปรุงการบริหารราชการส่วนกลาง
1.ยกเลิกสมุหนายก สมุหกลาโหม ตำแหน่งจตุสดมภ์
2.จัดตั้งกระทรวง 12 กระทรวง(พ.ศ.2435)
     - มหาดไทย บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว
     - กลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ หัวเมืองฝ่ายตะวันออกและเมืองมลายา
     - ต่างปท.จัดการเกี่ยวกับต่างปท.
     - วัง กิจการในพระราชวัง
     - เมืองหรือนครบาล จัดการเกี่ยวกับเรื่องตำรวจและราชทัณฑ์
     - เกษตรธิการ เกี่ยวกับการเพาะปลูก เหมืองแร่ ป่าไม้
     - คลัง ภาษีอากรและงบประมาณแผ่นดิน
     - ยุติธรรม จัดการเรื่องชำระคดีและการศาล
     - ยุทธนาธิการ จัดการเกี่ยวกับเรื่องทหาร
     - ธรรมการ ว่าด้วยเรื่องการศึกษา การสาธารณสุขและการสงฆ์
     - โยธาธิการ การก่อสร้าง การช่าง ไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ
     - มุรธาธิการ การรักษาตรวจตราแผ่นดินและระเบียบสารบรรณ
3.ตั้งสภาที่ปรึกษาในพระองค์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐมนตรีสภา ประกอบด้วยเสนาบดี หรือผู้แทนแต่งตั้งรวมกันไม่น้อยกว่า 12 คน เพื่อเป็นที่ปรึกษาและคอยทัดทานอำนาจกษัตริย์
4.ตั้งองคมนตรีสภาสมาชิกไม่น้อยกว่า 49 คน มีทั้งสามัญชน ขุนนางระดับต่างๆ และพระราชวงศ์มีฐานะรองจากรัฐมนตรีสภา
      

ความซื่อสัตย์

ความซื        ความซื่อสัตย์ ( Integrity )
ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นส่วนหนึ่งของความจริงใจ  การที่เราจะมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น  เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองเสียก่อน  แท้จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์หรอก  แต่ให้เป็นคนมีความจริงใจก็สามารถมีความซื่อสัตย์ได้แล้ว  เพราะเมื่อเรามีความจริงใจผลพลอยได้คือความซื่อสัตย์  การที่เรามีความซื่อสัตย์ต่อผ๔อื่นไม่ได้  ก็เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเองธรรมะว่าด้วยความซื่อสัตย์ก็ลักษณะเหมือนธรรมะข้ออื่น  คือต้องทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อนคนถ้าไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองแล้ว  โดยมักคิดว่าถ้าตนเองทำอะไรผิดแล้วปกปิดไว้มิให้คนอื่นล่วงรู้ในสิ่งที่ตนทำ โดยมักจะคิดว่าถ้าไม่บอกว่าเราทำอะไรผิดบ้างคนอื่นก็จะไม่รู้  นี่คือความไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง  การทำให้ตนมีความซื่อสัตย์อย่างแท้จริงนั้นเป็นเรื่องยาก  คนที่จะมีความซื่อสัตย์ได้นั้นต้องมีความจริงใจต่อตนเอง  ถ้าจะให้ดีคือต้องกล้าประจานความชั่วที่ตนมีต่อหน้าผู้อื่นคนฟังยิ่งมากยิ่งดีถ้าเราทำได้รับรองว่าเราจะมีความซื่อสัตย์แน่นอน  แต่ถ้าทำไม่ได้ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าจะเอาความซื่อสัตย์ต่อตนเองมาจากไหน  เมื่อเราไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองก็ไม่สามารถซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นและส่วนรวมได้เลยการจะเรียกร้องสิ่งใดจากผู้ใดจึงไม่ต้อไปเรียกร้องจากผู้อื่น  แต่ให้เริ่มต้นที่ตนเองทั้งสิ้น หากอยากให้สังคมสงบแต่ละคนต้องทำวิปัสนากรรมฐาน  หากเราไปเรียกร้องจากคนอื่นให้คนอื่นเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ย่อมไม่อาจทำได้  ทุกคนต้องเรียกร้องเอาจากตนเองโดยถามว่าตนเองทำได้หรือยัง  การเรียกร้องสิ่งใดจากผู้อื่นคือการพึ่งคนอื่นอย่างกลาย ๆ  นี่เอง  การที่เราไปเรียกร้องให้คนอื่นทำนั่นหมายความว่าตนเองต้องทำให้ได้ตามนั้นเสียก่อน  เมื่อเราทำได้แล้วจึงมีความชอบธรรมในการเรียกร้อง  ให้ผู้อื่นทำตามที่เราอยากให้ทำได้การที่เราเรียกร้องสิ่งใดแล้วอยากให้สิ่งใดเกิดขึ้นกับสังคม  จึงต้องย้อนกลับมาดูที่ตนเองเป็นอันดับต้น  เพราะถ้าหากทุกคนสามารถทำให้ตนเองมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นได้  จะมีความจำเป็นที่จะต้องไปเรียกร้องความซื่อสัตย์ต่อสังคมหรือไม่  หากเราทุกคนรู้จักข้อบกพร่องแล้วแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองด้วยวิปัสนากรรมฐานโดยไม่เข้าข้างตนเอง  หากทุกคนทำได้จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องไปเรียกร้องความสงบสุขจากสังคม  หากเราจะเรียกร้องอะไรจากผู้อื่นและส่วนรวม  เราต้องมีความมั่นใจเสียก่อนว่าต้องทำเช่นนั้นให้ได้ก่อน  การพึ่งพาผู้อื่นจึงเป็นการปัดความรับผิดชอบในตน  เพราะแต่ละคนจะเกี่ยงให้คนอื่นเริ่มทำก่อน  เช่นคุณทำก่อน  เธอทำก่อน  แล้วผมค่อยทำ  แล้วทั้งคุณทั้งเธอทั้งหลายก็ย้อนกลับมาบอกให้ผมทำก่อน  เกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมาก็ทำอะไรไม่ได้เสียที  ปัญหาเรื่องการขาดความซื่อสัตย์หรือการขาดคุณธรรมใด ๆ  ก็ตามให้พิจารณาให้ดีว่าเป็นเช่นนี้หรือไม่  ถึงแม้ผู้เขียนจะเขียนเรื่องความซื่อสัตย์  แต่หลักการนี้เป็นเครื่องชี้นำแล้วนำไปประยุกต์ใช้กับคุณธรรมข้ออื่นได้ด้วย การจะทำให้สังคมดีคือการทำให้แต่ละคนเป็นคนดี  ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมจึงต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบในแต่ละคน  หากวันนี้เราจะไปเรียกร้องให้ผู้อื่นมีความซื่อสัตย์ต้องย้อนถามตนเองว่าตนเองมีความซื่อสัตย์แล้วหรือยัง  ด้วยเหตุนี้เราอยากได้สิ่งใดจึงต้องแสดงและทำสิ่งนั้นให้ผู้อื่นมองเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจไร้เจตนาแอบแฝงเสียก่อน  หากเราไปเรียกร้องให้ผู้อื่นทำกับเราก่อนยังเรียกร้องไม่ได้  แล้วจะไปเรียกร้องอะไรจากสังคมและส่วนรวมให้ต้องมีความซื่อสัตย์  รู้จักทำหน้าที่  ฯลฯ  นั่นเอง